แผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Panelboards)

แผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Panelboards)

      แผงย่อย คือ บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่รับไฟจากสายป้อนหรือสายประธาน แล้วจัดการแยกไฟฟ้าที่ได้รับออกเป็นวงจรย่อยหลายวงจรเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้โหลดต่อไป

      ส่วนประกอบ

      ลักษณะโครงสร้างของแผงย่อย มีส่วนประกอบต่างๆที่สำคัญดังรูป

 แผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Panelboards)

โครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆของแผงย่อยแบบ Main Lugs

จากโครงสร้างภายในแผงย่อยตามรูป สามารถอธิบายส่วนประกอบต่างๆได้ดังนี้

      1.เครื่องห่อหุ้ม (Enclosures)

     เป็นกล่องที่ใช้เป็นเครื่องป้องกันการกระทบกระเทือนจากภายนอก ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุพวกโลหะหรือพลาสติกแข็ง ส่วนประกอบทั้งหมดของแผงย่อยจะอยู่ภายในเครื่องห่อหุ้มนี้สำหรับเครื่องห่อหุ้มที่เป็นกล่องหรือเหล็กนั้นจะต้องต่อลงดินเสมอ

     2.บัสบาร์ (Busbars)

      มีลักษณะเป็นเส้นตัวนำทองแดงยาวอาจเคลือบด้วยสารดีบุก ใช้กับไฟ 1 เฟส  2 สาย หรือ 3 เฟส  4 สาย บัสบาร์จะถูกติดตั้งอยู่ในกลุ่มห่อหุ้มวัสดุที่ใช้เป็นตัวรองรับบัสบาร์ใช้วัสดุพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติกกระแสที่ไหลมาจากสายประธานผ่านเซอร์กิตเบรกเกอร์เข้ามายังขั้วต่อ (Main Lugs) ของบัสบาร์นั้น บัสบาร์สามารถแยกไฟที่ได้รับออกไปจ่ายโหลดตามวงจรย่อยต่างๆได้โดยผ่าน  Branch CB ของวงจรย่อยแต่ละวงจร โดยปกติจะกำหนดให้ วงจรย่อยทางซ้ายมือของบัสบาร์เป็นเลขคี่  ส่วนทางขวามือจะเป็นเลขคู่ นอกจากนี้แผงย่อยยังมี Solid Neutral Bar ติดตั้งอยู่เพื่อทำหน้าที่เป็นขั้วต่อของสาย Neutral จากสายป้อนที่เข้ามาทางภายนอก เมื่อต้องการจ่ายไฟให้กับโหลดในวงจรย่อยก็สามารถขันน็อตสาย Neutral ที่ S/N แล้วต่อสาย Neutral ไปที่โหลดได้ สำหรับการใช้ Ground Bar นั้นก็มีลักษณะเหมือน S/N คือขันน็อตสายดินแล้วต่อไปที่โหลดได้ พิกัดของบัสบาร์มีให้เลือกเป็นหน่วยกระแส เช่น 100 A, 200 A ซึ่งหมายความว่าบัสบาร์สามารถใช้งานได้สูงสุด 100 A และ 200 A ตามลำดับ หรือสามารถใช้ขนาดที่เราออกแบบตามต้องการ

     3.เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breakers)

     จะเป็นแบบ Plug-in CB ซึ่งเป็น CB ที่สามารถเสียบลงใช้งานได้เลย เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป Ampere Frame ที่ใช้งาน คือ 50 AF หรือ 63 AF

     ส่วน Ampere Trip จะมีเป็นค่าๆ ได้แก่ 10 AT, 16 AT, 20 AT, 32 AT, 40 AT, 45 AT, 50 AT, 63 AT สำหรับพิกัด IC ของ Branch CB นั้น จะมีค่าต่างๆ ให้เลือก เช่น 5 kA, 6 kA, 9 kA, 10 kA เป็นต้น Branch CB บางรุ่นจะมีระบบป้องกันกระแสไฟรั่ว (Ground Fault Circuit Interrupter : CFCI หรือ Residual Current Device : RCD) ซึ่งสามารถตัดกระแสไฟรั่วประมาณ 30 mA

 

Credit : การออกแบบไฟฟ้า (ELECTRICAL SYSTEM DESIGN) โดย ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ พิมพ์ครั้งที่ 2 ปีที่พิมพ์ 2548

 

QR Line@