ชนิดและการใช้งานของสายไฟฟ้า

ชนิดและการใช้งานของสายไฟฟ้า

สายไฟฟ้าเป็นสื่อกลางในการนําเอากําลังไฟฟ้าจากแหล่งต้นกําลังไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าไปติดตั้ง ใช้งาน จะพิจารณาจากข้อมูลเบื้องต้น ดังนี้
   1. ความสามารถในการนํากระแสไฟฟ้าได้สูงสุด โดยไม่ทําให้ฉนวนของสาย (insulated) ได้รับความเสียหายซึ่งสามารถดูเปรียบเทียบได้จากตารางสําเร็จรูปโดยที่ข้อกําหนดการใช้งานของสายไฟฟ้าขนาดต่างๆดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า
   2. แรงดันไฟฟ้าที่สายไฟฟ้าทนได้ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะพิมพ์ติดไว้ที่ผิวฉนวนด้านนอกของสายไฟฟ้า เช่น300V. หรือ 750V. เป็นต้น
   3. อุณหภูมิแวดล้อมขณะใช้งาน เช่น 60°C หรือ 70°C เป็นต้น
   4. ชนิดของฉนวน เช่น ฉนวนพีวีซี (PVC) หรือที่เรียกว่าโพลิไวนิลคลอไรด์ 
(Polyvinylchloride) เหมาะสําหรับการเดินสายไฟฟ้าในอาคารทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากพลาสติกพีวีซีมีความอ่อนตัวสามารถดัดโค้งงอได้ทนต่อความร้อนเหนียวและไม่เปื่อยง่าย ฉนวนพลาสติกอีกชนิดหนึ่ง คือ ครอสลิ่งก์โพลีเอธทีลีน (cross linked Polyethylene : XLPE) ซึ่งเป็นสายอะลูมิเนียม
หุ้มฉนวนหนาพิเศษ จึงสามารถรับแรงกระแทกได้มากขึ้น
   5. ลักษณะการนําไปใช้งาน โดยพิจารณาจากลักษณะการติดตั้ง สถานที่ใช้งานสภาพความแข็งแรงของสายไฟฟ้าทั้งนี้จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสายไฟฟ้าแต่ละชนิดด้วย
2.2 ข้อกําหนดทั่วไปเกี่ยวกับสายไฟฟ้า ที่ควรทราบมีดังนี้
      2.2.1 สีของฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า โค๊ดสีมาตรฐานมีดังนี้
        สายหุ้มฉนวนแกนเดียว ใช้ได้ทุกสี
        สายหุ้มฉนวน 2 แกน ใช้สีเทาอ่อน ดํา
        สายหุ้มฉนวน 3 แกน ใช้สีเทาอ่อน ดํา แดง
        สายหุ้มฉนวน 4 แกน ใช้สีเทาอ่อน ดํา แดง น้ําเงิน
        สายหุ้มฉนวน 5 แกน ใช้สีเทาอ่อน ดํา แดง น้ําเงิน เหลือง
สําหรับสายดิน (earth) ใช้สายสีเขียวหรือเขียวสลับเหลือง
     2.2.2 ชนิดของสายหุ้มฉนวน สายที่นิยมใช้ในงานติดตั้งไฟฟ้าทั่วไป ที่ควรทราบได้แก่ สาย
VAF,VFF,VSF,THW,VCT และสาย NYY
   ก. สาย VAF เนื่องจากมีรูปทรงแบนจึงเรียกว่า สายแบนแกนคู่ ภายในประกอบด้วยสาย
ทองแดงจํานวนสองเส้นหุ้ม ด้วยฉนวนพีวีซีสองชั้นหรือ (PVC/PVC) ดังรูปที่ 2.1 (ก) เหมาะสําหรับ
งานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายเนื่องจากสามารถดัดโค้งงอได้ดี พิกัดแรงดัน 300
โวลท์อุณหภูมิใช้งานไม่เกิน70 องศาเซลเซียส มีหลายขนาดเช่น 2 × 5 (มม)2 หมายถึง ภายในสาย
VAF ประกอบด้วยสายจํานวน 2 เส้น แต่ละเส้นมีพื้นที่หน้าตัดเท่ากับ 1.5 ตารางมิลลิเมตร

สาย VAF

   ข. สาย VFF ภายในประกอบด้วยสายทองแดงฝอยจํานวนสองแกนหุ้มด้วยฉนวน พีวีซีชั้น
เดียว (pvc insulated) ดังรูปที่ 2.1 (ข) เหมาะสําหรับงานที่ต้องเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ พิกัดแรงดดัน
และอุณหภูมิใช้งานเหมือนกับสาย VAF

สาย VFF

   ค. สาย VSF ภายในประกอบด้วยสายทองแดงฝอยหุ้มด้วยฉนวนพีวีซีชั้นเดียว จํานวนงาน
เหมือนกับสาย VAF

สาย VAF

ง. สาย THW ภายในประกอบด้วยสายทองแดงตันเส้นเดียว หุ้มด้วยฉนวนพีวีซีชั้นเดียวดังรูป
ที่ 2.1 (ง) ใช้สําหรับติดตั้งในท่อร้อยสายพิกัดแรงดัน 750 โวลท์ อุณหภูมิใช้งาน ไม่เกิน 70 องศา
เซลเซียส

สาย THW

   จ. สาย VCT ภายในประกอบด้วยสายทองแดงฝอยจํานวน 2 แกน หรือมากกว่า หุ้มฉนวน
สองชั้น ดังรูปที่ 2.1 (จ) ใช้ต่อเข้ากับปลั๊กตัวผู้ของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ และอื่น ๆ พิกัดแรง ดันและ
อุณหภูมิใช้งานเหมือนกับสาย THW

สาย VCT

   ฉ. สาย NYY ภายในประกอบด้วยสายทองแดงจํานวนสองแกนหรือมากกว่า หุ้มด้วยฉนวน
สามชั้น ดังรูปที่ 2.1 (ฉ) เหมาะสําหรับการเดินสายใต้ดินโดยตรงหรือใช้งานทั่วไป บางชนิดจะมีแผ่น
เหล็กเป็นเกราะกําบัง พิกัดแรงดันและอุณภูมิใช้งานเหมือนกับสาย VCT

สาย NYY

2.3 การใช้งานของสายไฟฟ้า
   สายไฟฟ้าที่ผลิตตามมาตรฐานของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอก.11-2531 ได้กําหนดชนิดของสายไฟฟ้าและลักษณะการติดตั้งไว้ดังตรารางที่ 2.1 ขนาดกระแสและรูปแบบการติดตั้ง แสดงดังรูปที่ 2.2 และตารางที่ 2.3

ตารางที่ 2.1 ข้อกําหนดการใช้งานของสายไฟฟ้าที่ผลิตตาม มอก. 11-2531 อุณหภูมิขณะใช้งาน
70 องศาเซลเซียส

มอก. 11-2531

สายไฟฟ้าที่ผลิตตาม มอก. 11-2531

สายไฟฟ้าที่ผลิตตาม มอก. 11-2531 อุณหภูมิขณะใช้งาน 70 องศาเซลเซียส

ตารางที่ 2.2 ขนาดกระแสไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวน พีวีซีตาม มอก. 11-2534 อุณหภูมิตัวนํา
70 องศาเซลเซียส ขนาดแรงดัน 300 หรือ 750 โวลต์ อุณหภูมิโดยรอบ 40 องศาเซลเซียส
(สําหรับวิธีการเดินสาย ก-ค) และ 30 องศาเซลเซียส (สําหรับวิธีการ เดินสาย ง และ จ)

 มอก. 11-2534

ตารางที่ 2.3 ชนิดของตัวนําและรูปแบบการติดตั้ง

รูปแบบการติดตั้ง

ตารางที่ 2.4 ค่าตัวคูณคงที่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง (สูงหรือต่ํากว่า ตารางที่ 2.2)

ค่าตัวคูณคงที่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

Credit : http://techno.rtu.ac.th/pi02.pdf

QR Line@