เนมเพลท (Nameplate)

 

ป้ายเนมเพลท

 

  สั่งผลิตเนมเพลท (Nameplate) คลิ๊กเลย!!
ป้ายเนมเพลทเป็นป้ายเพื่อใช้แจ้งข้อความ ไม่ว่าจะเป็นชื่อ เนื้อหา ประวิติ วิธีการใช้งาน หน้าที่ คำสั่งการใช้งานต่างๆ หรือแสดงเป็นแผนผัง แผงวงจร (นิยมแสดงเป็นแบบ Tree Map Chart) มีรูปลักษณ์และสีสันแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบในการใช้งาน โดยมากแล้วนิยมทำ nameplate เพื่อใช้เป็นป้ายคำเตือน ป้ายติดตู้ไฟฟ้า ตู้MDB (Main Distribution Board) เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าในหลายๆประเภท โดยหลักๆพอจะแบ่งได้เป็น 5 ประเภท

1.งานป้ายตู้ไฟ , ป้ายตู้ควบคุม หรือ ป้ายระบบของโครงการต่างๆ แแบบขึ้นชิ้นงานเป็นงานอะคริลิค

2.งานป้ายตู้ไฟ , ป้ายตู้ควบคุม  แบบใช้แผ่นพลาสติค พีวีซี 2 สี (โรมาร์ค ,กราโวกราฟ) มีหลายสีที่นิยมจะเป็น พื้นสีดำ ตัวหนังสือสีขาว หรือ พื้นสีขาวตัวหนังสือ ดำ หรือ พื้นสีเขียว ตัวหนังสือสีขาว กัดเป็นป้ายข้อความเฉพาะงาน ถ้าเป็นป้ายเนมเพลทที่ใช้ติดหน้าตู้ไฟฟ้า (Main Distribution Board) ขนาดที่ใช้จะวัดจาก ข้อความ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใส่สวิตซ์ หรือ หลอดไฟ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีขนาด 16,22 ,25 ,30 มม.

3.ป้ายชื่อต้นไม้ งานแบบนี้คิดเหมาเป็นโปรเจคโดยทางฝ่ายผู้สั่งทำจะให้รายละเอียดของต้นไม้ทั้งหมดมา  โดยจะมีชื่อเรียกท้องถิ่นตามแต่ละภาค  ชื่อทางวิทยาศาสตร์  ลักษณะเพื่อใช้จดจำและแยกแยะ  และอาจจะลงรายละเอียดอื่นๆเช่น ประโยชน์ทางการรักษาด้านสมุนไพร (แบบนี้จะแยกเป็นแต่ละองค์ประกอบของต้นไม้ว่าส่วนใดนำมาใช้เป็นยา มีรสอะไร ใช้ปรุงยาโดยวิธีใด) ที่มาของต้นไม้นั้น เช่นเป็นต้นไม้พระราชทาน เป็นต้นไม่ประจำจังหวัด หรือประจำหน่วยงานนั้นๆเป็นต้น

4.ธุรกิจ ที่พักอาศัย หอพัก อพาร์ทเม้นท์ ห้องเช่า ไม่ว่าจะใช้แบบฝังแถบแม่เหล็ก , RFID หรือ กัดเป็น QR Code 

5.ป้ายชื่อติดหน้าอก  , ป้ายตั้งโต๊ะบอกตำแหน่งหน้าที่ , หน่วยงานราชการ , รัฐวิสาหกิจ , นักเรียน , ลูกเสือ

ป้ายเนมเพลทที่นิยมใช้กันในปัจจุบันนี้พอจะแยกได้ดังนี้

1.ป้ายชื่อที่ใช้งานในสำนักงาน

    ป้ายชื่อเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติก,ไม้,โลหะ (สแตนเลสทองเหลืองอลูมิเนียมสังกะสีทองแดง) และมักประกอบด้วยข้อความหนึ่งบรรทัดหรือสองบรรทัด
    
รูปแบบมาตรฐานสำหรับป้ายสำนักงานคือการแสดงชื่อของบุคคลในบรรทัดแรกและชื่องานของบุคคลหนึ่งในบรรทัดที่สอง เป็นเรื่องปกติที่องค์กรจะขอป้ายชื่อที่ไม่รวมชื่องาน (ไม่ระบุตำแหน่งงาน) เหตุผลหลักในการยกเว้นชื่องานคือการยืดอายุขัยของป้ายชื่อ(เวลาโยกย้ายตำแหน่งก็ยังสามารถใช้ป้ายชื่อเดิมได้อยู่  โดยไม่ต้องสั่งทำใหม่นั่นเอง) หรือเพื่อส่งเสริมแนวความความคิดว่างานไม่ได้เชื่อมโยงกับชื่อของใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนควรทำงานได้หมด (ส่วนใหญ่จะเป็นแนวงานบริการที่ทุกคนมีหน้าที่หมุนเวียนกันได้ไม่เฉพาะเจาะจงว่าหน้าทีนั้นของคนนั้น  หน้าที่นี้ของคนนี้)  ป้ายชื่อที่ไม่มีตำแหน่งงานจึงมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวเพราะมีคนสามารถใช้ป้ายชื่อเดียวกันได้หลังจากเปลี่ยนชื่องาน ขนาดแผ่นป้ายพิกัดที่นิยมใช้มากที่สุดคือ 2 x 8 นิ้ว (5.08 ซม. x 20.32 ซม.)

    ป้ายชื่อที่ใช้งานในสำนักงานที่นิยมกันมากที่สุดมักจะทำจากพลาสติก เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับไม้และโลหะ

 2.ป้ายชื่อสินค้า

   ป้ายชื่อสินค้าที่มีราคาแพงกว่าสามารถผลิตได้จากทองแดง หรือทองเหลือง  กระทั่งทองคำ หรือเงินเพื่อส่งเสริมความหรูหราและมีภาพลักษณ์ที่ดูดีมีคุณค่าสูงสมกับตัวสินค้า  และมีแนวโน้มที่จะผลิตเพื่อใช้ในเครื่องบิน , เรือสำราญ , เรือยอร์ช , รถยนต์ระดับไฮคลาส โดยเป็นป้ายแสดงสัญลักษณ์เพื่อใช้อย่างเครื่องประดับเพื่อเพิ่มมูลค่าและความหรูหรานั่นเอง

 3.ป้ายใช้เฉพาะทาง

   เป็นป้ายกำกับชื่อ สรรพคุณ บอกทาง (ป้ายจราจร) หรือเป็นการแจ้งเตือนก็ที่เป็นป้ายที่นิยมอีกชนิดหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่มักชอบที่จะประดับประดาประตูห้องเด็ก ๆ ป้ายเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีสีสันมากกว่าป้ายบอกตำแหน่งตามข้างต้น ตัวเลือกการติดตั้งทำได้โดยการทาเล็บหรือกาว ป้ายไม้จะไม่ติดกาวบนประตูเนื่องจากกาวอาจทิ้งคราบสกปรกและทำให้ยากต่อการถอดแผ่นป้าย ป้ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นรวมถึงกราฟิกหรืองานศิลปะเช่นม้าหรือไม้เบสบอลที่ตรงกับความสนใจของบุคคลที่ระบุ กราฟิกหรืองานศิลปะเสริมสร้างความแตกต่างและความเป็นส่วนตัวที่กำหนดโดยป้ายชื่อ

    การผลิตป้ายเนมเพลท ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบที่ทันสมัยและสอดคล้องกับการใช้งานมากขึ้น ทั้งยังมีการผสานเทคโนโลยีใหม่ๆเข้าไปเช่นการทำเป็นสามมิติเพื่อเพิ่มความสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น  การทำภาพกราฟฟิคที่ซ้อนทับลงไปเพื่อให้เกิดความโดดเด่นในตัวงาน  สร้างจากโลหะหลายชนิดเช่น อลูมิเนียม สังกะสี สแตนเลสหรือทองเหลือง หรือพลาสติกฉีดขึ้นรูป และการผสานกับเลเซ่อร์ , หลอดไฟLED ต่างๆ โดยสามารถปรับแต่งความหนา เฉดสีและขนาดได้ทั้งหมด คุณลักษณะเพิ่มเติมของการออกแบบและเทคนิคการผลิตร่วมกับการผลิตป้ายชื่อ ได้แก่ การแกะสลักการสร้างตราสินค้าและการแกะสลัก โดยมีรูปแบบในการใช้งานที่หลากหลาย มีราคาไม่แพงและมีประโยชน์ในการใช้งานสูงมาก สามารถสั่งผลิตหรือสั่งพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ที่สำคัญป้ายเนมเพลท มีสีสันที่สวยงามสามารถสั่งได้ตามความต้องการ มีความแข็งแรง ทนทานและมีอายุในการใช้งานที่ยาวนาน จึงทำให้ ป้ายเนมเพลท  ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้  

วัสดุที่นำมาใช้ทำเนมเพลท ขึ้นอยู่กับการใช้งานของทางผู้ใช้ว่าต้องการใช้วัสดุอะไรเพื่อเหมาะสมกับงานของตน

ประเภทของวัสดุที่นำมาทำเนมเพลท

    โดยมากมักจะเป็น พลาสติก , gravograph , สแตนเลส , อลูมิเนียม , อลูมิเนียมอโนไดซ์ (กระบวนการอโนไดซ์ Anodize คือ กระบวนการที่เพิ่มการป้องกันการผุกร่อนของโลหะอลูมิเนียม โดยการทำให้เกิดออกไซด์ AL2Oที่เสถียรและทำการเคลือบผิวอลูมิเนียม โดยการใช้วิธีอิเล็กโทรไลซิส ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการทำอโนไดซ์จะมีลักษณะด้านและมีรูพรุนเล็กมากๆ การทำอโนไดซ์ บนพื้นผิวอลูมิเนียมจะทำให้ผิวอลูมิเนียมทนการกัดกร่อนได้มากขึ้น และยังเป็นการเพิ่มการยึดติดของสีบนพื้นผิวอลูมิเนียมให้มีความทนทานมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้การทำอโนไดซ์ยังทำให้อลูมิเนียม มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าอีกด้วย) ทองเหลือง , ทองแดง , อะคริลิค , พลาสวู๊ด , ไม้ธรรมชาติ

วิธีการทำเนมเพลท สามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้การฉลุชิ้นงาน การใช้กรดกัด และการยิงเลเซ่อร์ (***การยิงเลเซ่อร์แบบที่ออกมาจะคมชัดที่สุด ) โดยแต่ล่ะแบบจะใช้วิธีการขึ้นงานที่แตกต่างกันไป 

โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบันมี 2 วิธีคือ

1.การใช้เทคนิคกรดกัดชิ้นงาน

มีข้อดีคือ สามารถทำชิ้นงานขนาดใหญ่ได้  และมีความทนทานและสวยงาม 

ส่วนข้อเสียคือขั้นตอนกาารใช้กรดกัดนั้นเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวเนื่องด้วยการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน จึงต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชิ้นงาน ข้อเสียอีกอย่างของการใช้กรดกัดนี้คือมีราคาแพง

2.การใช้เทคนิคเลเซ่อร์แกะชิ้นงา

การตัดด้วยเลเซอร์ หมายถึง การใช้แสงเลเซอร์ตัดวัตถุให้มีขนาดเล็กลง หรือทำให้วัสดุมีรูปร่างที่ซับซ้อนตามที่ต้องการ การตัดด้วยเลเซอร์มีความคล้ายคลึงกับการเจาะและการทำเครื่องหมายด้วยเลเซอร์ เนื่องจากเป็นการทำให้เกิดรอยบุหรือรูบนพื้นผิววัตถุคล้ายกับการทำเครื่องหมายด้วยเลเซอร์ รอยบุและรูนี้มีความจำเป็นสำหรับการตัด มักจะพบเห็นการตัดด้วยเลเซอร์ก่อนที่จะทำการทำรอยบุหรือทำเครื่องหมายบนผิววัตถุด้วยเลเซอร์

ประโยชน์ของการตัดด้วยเลเซอร์

1. ขอบเรียบและชิ้นงานมีความสมบูรณ์ครบถ้วน

การตัดด้วยเลเซอร์สามารถตัดชิ้นงานที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งมีความซับซ้อนได้ดีและมีขอบเรียบ โดยสามารถตัดได้บนแผ่นเหล็กที่เป็นแบบวงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ทำให้ชิ้นงานมีขอบเรียบ ซึ่งต่างจากการตัดด้วยเครื่องกลที่การตัดอาจจะทำให้เกิดรอยขูด นอกจากนี้การตัดด้วยเลเซอร์ยังสามารถใช้ตัดไม้ พลาสติก เซรามิก หรือแผ่นหนังได้ และการตัดแบบสามมิติด้วยเลเซอร์ ยังสามารถใช้ผลิตชิ้นส่วนที่มีรูปทรงของรูที่ไม่ซ้ำกัน และการตัดด้วยเลเซอร์ของเครื่อง CNC ยังสามารถใช้สร้างเส้นโค้งและสร้างโครงสร้าง 3D ที่ซับซ้อนได้ เพราะเลเซอร์ที่มีแกนควบคุม 6 แกนสามารถใช้ตัดวัตถุได้หลากหลายมุมหลายองศา และสามารถสั่งให้ทำงานที่ซับซ้อนได้จากการป้อนคำสั่งเพียงครั้งเดียว

2. ความถูกต้องแม่ยำสูงและชิ้นงานเกิดการสึกหรอน้อยมาก

การตัดของเครื่องกลอาจได้รับผลกระทบจากการสึกหรอของใบมีดในเครื่อง แต่การตัดด้วยเลเซอร์อาจไม่มีร่องรอยบนพื้นผิวจริงหรือมีน้อยมาก จึงเกิดการสึกหรอของชิ้นงานน้อย ทำให้สามารถตัดวัตถุได้แบบเดียวกันทั้งหมดหมดและได้มาตรฐานเท่า ๆ กัน การตัดด้วยเลเซอร์ส่งผลต่อชิ้นงานมีคุณภาพสม่ำเสมอทุกชิ้น และไม่ได้เป็นเพียงการตัดชิ้นส่วนเท่านั้น การตัดด้วยเลเซอร์ยังสามารถตัดรูผ่านโลหะ กัดโลหะหรือแม้กระทั่งเจาะให้เป็นหลุมได้ และเนื่องจากการตัดด้วยเลเซอร์มีความแม่นยำ จึงทำให้มีเศษวัสดุเหลือใช้น้อยมาก ทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้ในเวลาอันรวดเร็วและลดเวลาในการทำความสะอาดชิ้นงาน

3. การสั่งงานมีความยืดหยุ่น

เครื่องตัดเลเซอร์ปัจจุบันใช้งานได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากเครื่องตัดเลเซอร์ยุคใหม่ที่ทันสมัยมีจำนวนขั้นตอนที่ต้องใช้ฝีมือมนุษย์ในการควบคุมลดลงอย่างมาก ทำให้สามารถสร้างชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นในการสั่งงานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรมคำสั่งที่มีความยืดหยุ่นและไม่วับซ้อน แต่สามารถใช้สั่งงานเครื่องตัดเซอร์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ผลิตชิ้นงานได้เร็วขึ้น

เครื่องตัดเลเซอร์ส่วนใหญ่มาพร้อมกับคุณสมบัติการป้อนชิ้นงานหรือยกเลิกการป้อนชิ้นงานแบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องตัดเลเซอร์ ในขณะที่พนักงานที่ควบคุมเครื่องหยุดพักหรือรับประทานอาหารกลางวัน จึงช่วยให้สามารถผลิตสินค้าได้เร็วขึ้น และด้วยการใช้เลเซอร์ที่ทำให้ได้ชิ้นงานที่ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว คุ้มค่ากว่าการใช้เครื่องตัดชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเครื่องตัดเลเซอร์สามารถตัดเหล็กกล้าได้หนาถึง 1 นิ้ว สแตนเลส 0.5 นิ้ว และอลูมิเนียม 0.375 นิ้ว

การตัดด้วยเลเซอร์ยังมีข้อดีมากกว่า

  • การตัดด้วยเลเซอร์เป็นกระบวนการที่ไม่ต้องให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสัมผัสกับชิ้นงาน ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บ เนื่องจากการทำงานในกระบวนการตัดได้น้อยมาก
  • เครื่องตัดเลเซอร์มีค่าบำรุงรักษาต่ำ และใช้ชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีราคาไม่แพง
  • กระบวนการตัดด้วยเลเซอร์ช่วยลดการสิ้นเปลืองและการสูญเสียจากความผิดพลาดจากการใช้เครื่องตัดชนิดอื่น ๆ
  • การตั้งค่าคำสั่งการตัดชิ้นงานด้วยเลเซอร์หนึ่งชุดสามารถทำงานร่วมกับการตัดวัสดุและแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
  • การตัดด้วยเลเซอร์มีความปลอดภัยมากกว่าการตัดแบบอื่น ๆ เนื่องจากเครื่องกำเนิดเลเซอร์และกระบวนการผลิตจะอยู่ภายในกล่องนิรภัย
  • มีการป้องกันความเข้มของแสงเลเซอร์และความร้อนที่ถูกสร้างขึ้นระหว่างกระบวนการทำงาน ทำให้เป็นกระบวนการที่ได้รับความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยสูง

 

ด้วยเหตุนี้ การตัดด้วยเลเซอร์จึงถูกนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการบิน อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมกึ่งตัวนำ และอุตสาหกรรมทางการแพทย์

ส่วนข้อเสียคือ การขึ้นชิ้นงานขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้เครื่องยิงเลเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย  ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนสูงเพื่อรับแกะเนมเพลทที่มีขนาดต่างกัน

 

เนมเพลท (Nameplateที่ทางโรงงานต.วิชชุกรณ์ รับผลิตมีอยู่ 2 ประเภทคือ

1.  อะคริลิค (Acrylic) คือพลาสติกใสมีทั้งแบบสำเร็จรูปและแผ่นใหญ่

ตัวอย่างป้ายเนมเพลทแบบอะคริลิค

  แบบห่วงมี  3  ขนาด ได้แก่

 อะคริลิค ขนาด 22 ,25,30 มิล  นิยมติดที่กับแลมป์ อักษรเงา  พ่นสีพื้นขาวหรือดำ

ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ

 

2. โรมาร์ค (Rowmark) เป็นพลาสติกผสม  ที่นิยมมีพื้นสีดำ  เนื้อในขาว (พื้นดำ-อักษรขาว)

ตัวอย่างงานป้ายเนมเพลทแบบโรมาร์ค

พื้นสีน้ำเงิน  เนื้อในขาว (พื้นน้ำเงิน-อักษรขาว)  และพื้นขาว  เนื้อในสีดำ (พื้นขาว-อักษรดำ)

มีทั้งแบบ Flowchart แบบไดอะแกรม  แบบติดหน้าตู้ไฟฟ้า  เพื่อเป็นป้ายบอกหรือบ่งชื้

ลักษณะการทำงานหรือชื่อของเครื่องมือ/เครื่องจักร  อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและ

บำรุงรักษา

 วิธีการอ่านป้ายเนมเพลท

วิธีการอ่าน ป้ายเนมเพลท ที่ติดอยู่บนมอเต่อร์ (ตามรูปประกอบข้างต้น)
1.ยี่ห้อและสถานที่ผลิต เช่น CMG AUSTRALIA
2.เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ 3 เฟส
3.Type ของมอเตอร์ (HGA112M-4) หมายถึง
มอเตอร์ CMG รุ่น HGA, Frame size : 112M และ 4 Poles
4.เป็นมอเตอร์มาตรฐาน IEC
5.Duty หมายถึง ชนิดการทำงาน (S1 : การทำงานอย่างต่อเนื่อง)
INS.CL. F : ชนิดของฉนวน คลาส F (ทนความร้อนได้สูงสุด 155 องศาเซลเซียส)
IP55 : ความสามารถในการป้องกัน โดย
ตัวเลขตัวแรก : ความสามารถในการป้องกันฝุ่นละออง
ตัวเลขตัวที่สอง : ความสามารถในการป้องกันของเหลว
Eff 1 : มาตรฐานประสิทธิภาพของมอเตอร์ โดย
Eff 1 : มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง
Eff 2 : มอเตอร์มาตรฐาน
6.ข้อมูลคุณลักษณะของมอเตอร์ที่แรงดันและความถี่ต่างๆ
kW : กำลังทางไฟฟ้าขาออก (โดย 1 แรงม้า = 0.746 kW )
RPM : ความเร็ว (speed) ของมอเตอร์
AMPS : กระแสไฟฟ้าเมื่อมอเตอร์ขับโหลดที่พิกัดเต็มกำลัง (Full load Operation)
Cosx : ค่าตัวประกอบกำลัง
Efficiency % : ค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์
7.ข้อมูลชนิด Bearing ด้าน D-end (6306-C3) , N-end (6306-C3)
PROD No. : Model ของมอเตอร์
Serial No. : ซีเรียลของมอเตอร์
AMB Temp. : Ambient temperature
Wt. : น้ำหนักมอเตอร์

 

QR Line@