วิธีการติดตั้งตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต

วิธีการติดตั้งตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต

ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ที่เหล่านายช่างทั้งหลายเรียกกันทั่วไปว่า ตู้ ไฟหรือกล่องไฟ เป็นตู้ที่ใช้รวมการติดตั้งทั้งสายไฟ ทั้งอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันอันตรายต่างๆ จากไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความเป็นระบบระเบียบ ซึ่งยังผลให้ง่ายต่อการจัดการไม่ว่าจะเป็นการตรวจบำรุงรักษา หรือตรวจเช็คระบบการทำงานว่าเป็นไปโดยเรียบร้อย  หรือผิดปรกติอะไรหรือไม่ โดยทั่วไปตู้คอนซูเมอร์ยูนิตจะประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด และเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย

ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ภายใน ตู้คอนซูเมอร์ยูนิตจะแบ่งเป็นสองระบบหลักๆ คือ ระบบ Bolt on และระบบ Plug on ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับการติดตั้งในระบบที่ต่างกันนั้นจะไม่สามารถ นำมาติดตั้งร่วมกันได้ โดยระบบ Plug on จะใช้ระยะเวลาการติดตั้ง น้อยกว่า แต่ระบบ Bolt on จุดเด่นในด้านความคงทน ในการใช้งานมากกว่า ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต   ส่วนใหญ่จะผลิต มาจากพลาสติกหรือเหล็ก

ตู้คอนซูเมอร์

โดยตู้คอนซูเมอร์ยูนิตที่ดี ควรเป็นตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตที่แข็งแรง มีความทนทาน ทนความร้อนและไม่เป็นวัสดุลามไฟ หรือเป็นเชื้อเพลิงให้ไฟนั่นเอง ตามมาตรฐาน IEC ด้วย

การเดินสายไฟภายในตู้คอนซูเมอร์ยูนิต สายไฟด้านขาเข้าของตู้คอนซูเมอร์ยูนิตนั้น ใน ระบบไฟฟ้าหนึ่งเฟสจะมีทั้งหมดสามสายคือ 1.สายไลน์ (Line) (เส้นที่มีไฟ) 2.สายนิวตรอล (Neutral) รอล (สายศูนย์) 3.สายดิน (Ground / Earth)

โดยสายไลน์จะถูกต่อเข้าโดยตรงจากมิเตอร์การไฟฟ้าถึงเซอร์กิต เบรกเกอร์เมน สายนิวตรอลจะต้องต่อจากมิเตอร์การไฟฟ้าเข้าไปที่เทอมินอลกราวนด์ (จุดพักสายกราวด์) ในตู้คอนซูเมอร์ยูนิตก่อน แล้วต่อจากจุดพักสายกราวด์ไปที่ขั้ว N ของเมนเบรกเกอร์ โดยที่ไม่ต้องต่อจุดพักสายกราวด์ กับจุดพักสายศูนย์ เข้าด้วยกัน เนื่องจากจุดพักสายนิวตรอลกับเมนได้ต่อกันภายในจากโรงงานแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามตามข้อกำหนดมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับพ.ศ. 2545 ส่วนสายดินนั้นจะต่อตรงมาจากหลักดินที่บ้าน มายังเทอมินอลกราวนด์ในตู้คอนซูเมอร์ยูนิต

การวางสานไฟภายในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต

การเดินสายไฟที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายเส้นใด คือสายไลน์ (เส้นที่มีไฟ) และสายเส้นใดคือสายนิวตรอล (สายศูนย์) เพื่อ ป้องกันการลัดวงจรเมื่อต่อสายนิวตรอลเข้ากับ เทอมินอลกราวนด์ก่อนต่อเข้าเมนเซอร์กิตเบรกเกอร

และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันคือ การต่อสายดินที่ ถูกต้อง เพราะการต่อสายดินที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ใช้ ไฟฟ้าปลอดภัยจากไฟรั่ว ไฟดูด การตรวจสอบหาวงจรที่มีปัญหาไฟรั่ว ถ้าหากพบว่าอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดใน ตู้คอนซูเมอร์ยูนิตเกิดการทริป (Trip) จะมีวิธีตรวจสอบ เบื้องต้นเพื่อหาจุดที่มีไฟฟ้ารั่วได้ โดยเริ่มแรกให้ ทำการปิด (off) เบรกเกอร์ย่อยทุกตัวที่ต่อผ่านอุปกรณ์ ป้องกันไฟรั่วไฟดูด หลังจากนั้นให้เปิด (on) อุปกรณ์ ป้องกันไฟรั่วไฟดูด และให้ทยอยเปิด (on) เบรกเกอร์ ย่อยทีละตัว เพื่อทดสอบดูว่าเบรกเกอร์ย่อยวงจรใดที่ เมื่อเปิดแล้วทำให้อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดทริปลง จากนั้นเพื่อความปลอดภัยให้ปิดการใช้งานเฉพาะ วงจรที่มีปัญหาดังกล่าวไว้ และทำการติดต่อช่างผู้ เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจสอบ หาสาเหตุและทำการ แก้ไขให้เรียบร้อยต่อไป

ข้อควรพิจารณาเพื่อความปลอดภัย

 

สิ่งที่ควรทำ

1. ควรเลือกชนิดของสายไฟ และให้เหมาะสมกับขนาด แอมป์ของเบรกเกอร์

2. ต้องต่อสายนิวตรอลจากมิเตอร์การไฟฟ้าฯ ลงดินก่อนที่จะเข้าเมนเบรกเกอร์ เพื่อให้ มั่นใจว่านิวตรอลที่ต่อเข้าภายในที่พักอาศัย มีความต่างศักย์เป็นศูนย์จริง

3. ต้องติดตั้งระบบสายดินอย่างถูกต้องตาม มาตรฐานของการไฟฟ้าฯ

4. ควรพิจารณาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม ไฟฟ้า

5.ก่อนทำการซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ภายในตู้ควบคุมไฟฟ้า ควรปิดเมนเบรกเกอร์ (off) เพื่อความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน

 

 สิ่งที่ไม่ควรทำ

1. ห้ามต่อสายนิวตรอลของวงจรที่ไม่ได้ต่อผ่าน อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด ร่วมกันกับสาย นิวตรอลของวงจรที่ต่อผ่านอุปกรณ์ป้องกัน ไฟรั่วไฟดูด

2. ห้ามใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดทำหน้าที่ เป็นเมนแต่ควรใช้ควบคู่กับเมนเซอร์กิต เบรกเกอร์

3. หากในระบบมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน ไฟรั่วไฟดูด ห้ามไม่ให้มีการต่อบายพาส อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูดเพราะอาจทำให้ เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต

 4.กรณีใช้ฟิวส์ควบคุมวงจรไฟฟ้า หากฟิวส์ขาด ไม่ควรใช้ตัวนำทองแดง หรือตัวนำชนิดอื่นๆ มาเชื่อมต่อแทนที่ฟิวส์ แต่ต้องทำการเปลี่ยน ฟิวส์ใหม่ หรือเปลี่ยนเป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ แทน

 


Cr.K.วีระชัย รัตนสมโชค & K.ซ่อม MCU

QR Line@