อันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน

อันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน

การใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าต้องใช้อย่างระมัดระวัง ต้องเรียนรู้การใช้ที่ถูกต้อง ต้องรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง อันตรายจากไฟฟ้า มิใช่เกิดจากการใช้ไฟฟ้าอย่างเดียว การทำงานหรือเดินผ่านบริเวณที่มีพลังงานไฟฟ้าย่อมมีอันตรายแฝงอยู่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพและใช้อย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดอันตรายจากไฟฟ้าได้

    

อันตรายจากไฟฟ้า

      พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้   อันตรายที่คนทั่วไปได้ยินได้ฟังมี       สาเหตุใหญ่ คือ ไฟฟ้าซอร์ท และไฟฟ้าดูด ทั้งสองกรณี มีสาเหตุการเกิดที่ ต่างกัน และอันตรายที่ได้รับก็แตกต่างกัน
1. ไฟฟ้าชอร์ท(Short Circuit) เมื่อ มีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิฐานว่ามีเหตุ มาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้   ไฟฟ้า (LOAD)

การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ
1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง
ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้
1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย

ลักษณะการลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นได้ ทั้งในระบบไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ลักษณะการเกิดและความเสียหาย ก็จะมีความแตกต่างกัน คือ
1. กระแสไฟฟ้าไหลระหว่างสายไฟ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก ฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด หรือ จากการสัมผัสกัน โดยบังเอิญ ผลจากการการเดินลัดวงจร จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ ระหว่างลัดวงจรจะก่อให้เกิดประกายไฟขึ้นด้วย
2.กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน หรือเรียกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน อาจเกิดจากการที่สายไฟฟ้าขาด หรือหลุด จากจุดต่อไปสัมผัสกับพื้นดินหรือโลหะที่ต่อฝังอยู่บนพื้นดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จะทำ ให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน

ผลของไฟฟ้าชอร์ต

ในกรณีที่กระแสไหลใน สายไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสูง จะทำให้ความร้อนเกิดขึ้นใน สายตัวนำ หลายครั้ง จะทำให้เกิดการหลอมละลายของฉนวนไฟฟ้าและส่งผลให้สายตัวนำไฟฟ้าสัมผัส กันเกิดเป็นประกายไฟฟ้า และทำให้ฉนวน ที่หลอมละลายลุกไหม้ขึ้นมา ส่วนสายตัวนำที่สัมผัสหรือลัดวงจรกันนั้นก็จะเกิดการสะบัดตัว กระจายเปลวไฟที่กำลังลุก ไหม้ขยายวงออกไป หากมีวัสดุติดไฟอยู่ในบริเวณนั้นก็เสริมให้การลุกไหม้รุนแรงในกรณีหากเกิด ขึ้นในบริเวณ ของโรงพยาบาล ที่เป็นโซนก๊าซติดไฟ อาจจะทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ แนวทางการป้องกัน คือ จะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร โดยการ ดูแลเครื่องใช้และ อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟฟ้านั้นต้องมีการตรวจสอบสม่ำเสมอ หากตรวจสอบความร้อนขณะที่มีการใช้
กระแส ไฟเต็มที่ยิ่งเป็นการดี หากปรากฏการไหลของกระแสเกินพิกัดต้องหาสาเหตุ หากมีเหตุจากการมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ติดตั้งใช้งานมาก ต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าให้มีพิกัดกระแสที่ถูกต้องสายไฟฟ้าที่ใช้งานนาน ความร้อนจากสภาพแวดล้อมก็ทำให้ สายแตกปริ หลุดร่อนออกได้แนวโน้มที่จะเกิดประกายไฟตรงบริเวณที่ฉนวนหลุดร่อนย่อมมีสูง ในระบบไฟฟ้าแรงสูง เมื่อสาย ไฟฟ้าขาดลงสู่พื้นดิน ระบบป้องกันไม่ตัดวงจร อาจก่ออันตรายให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้

แนวทางป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรในอาคาร

(1) เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) เมื่อฟิวส์ขาดต้อง ใช้ขนาดเดิมไม่ควรใช้ ขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือดัดแปลงใช้วัสดุตัวนำอื่นมาทดแทน
(3) ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นประจำเช่น ในแผงสวิตซ์และไฟต่างๆเพราะอาจมีตัวแมลง เข้าไปทำรัง หรือมีฝุ่นละอองเกาะ
(4) เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพอาจดูได้จากเครื่องหมายรับ ประกันคุณภาพรับรองคุณภาพ ของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(ม.อ.ก.)
(5) ใช้เครื่องไฟฟ้าอย่างถูกวิธี ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ

2. ไฟฟ้าดูด(Electric Shock) เป็น ภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบ
วงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ
2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)
2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย

อันตรายจากไฟฟ้าดูด มีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้าและสุขภาพร่าง กายของบุคคล ตามที่ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่า เฉลี่ยค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน จากการทดสอบตัวอย่างผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์เป็นค่าที่ไม่ จำกัดเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย (ไม่ได้ใช้เวลาเป็นตัวแปรในการทดลอง) เป็นไปตามตารางที่ 1
กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สูง หากร่างกายมีความต้านทานต่ำ ร่างกายที่เปียกชื้นจะมีความต้านทานต่ำ เมื่อไฟฟ้าดูดจึงมีอันตรายสูง ดังนั้นขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จึงไม่ควรสัมผัสกับตัว อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการดี และเป็นข้อห้าม ปฏิบัติทางไฟฟ้าด้วย

ขนาดของกระแส
อาการที่เกิด
500 mA.
ไม่รู้สึกตัวว่าถูกดูด
1 A.
รู้สึกว่าร่างกายผิดปกติถูกดูด
1-3 A.
รู้สึกถึงกระแสไฟฟ้าแต่ไม่เกิดความเจ็บปวด
3-10 A.
รู้สึกถึงความเจ็บปวด
สูงกว่า 10 A.
รู้สึกถึงการเกร็งของกล้ามเนื้อ
สูงกว่า 30 A.
รู้สึกถึงความขัดข้องของระบบหายใจ
สูงกว่า 75 A.
รู้สึกถึงความขัดข้องของระบบหัวใจ
สูงกว่า 150 A.
เกิดความขัดข้องของกล้ามเนื้อหัวใจ

ปัจจัยความรุนแรงของไฟฟ้าดูด

เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย เป็นปัจจัยหนึ่งของอันตราย เท่านั้นความจริงแล้วตัวแปรที่สำคัญ ที่มีผลต่อความรุนแรง มี 3 อย่าง คือ
1. ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ถ้าปริมาณกระแสที่ไหลผ่านร่างกายสูง อันตรายก็จะสูงตามไปด้วย ไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีปริมาณสูงด้วยและจะมีอันตรายมากกว่าแรง ดันต่ำ
2. ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย 
3. เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย

ไฟฟ้าดูดป้องกันได้

หลักพื้นฐานของการป้องกัน อันตรายจากไฟฟ้าดูด คือการไม่ไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางไฟฟ้า ก็จะมีต้องมีวิธีการ และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเรามีความจำเป็นต้องสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า จะต้องมีวิธีการป้องกันไม่ให้ไปสัมผัส ขณะที่เปลือกของเครื่องใช้ไฟฟ้ามีไฟอยู่ การป้องกันที่ดี คือ การมีระบบสายดิน หรือเรียก ว่าการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน แต่ที่สำคัญคือการต่อลงดินต้องทำอย่างถูกต้องโดยผู้ที่มีความรู้จริงเท่า นั้นจึงจะได้ผล เครื่องใช้ ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้ว เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่วเครื่องป้องกันกระแสเกิน(ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)จะ ทำงาน ตัดเครื่องใช้ ไฟฟ้า ออกจากวงจร ที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่มีไฟฟ้า การใช้เครื่องตัดไฟรั่ว จะสามารถป้องกันอันตราย จากไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน แต่ในการใช้งานต้องมั่นใจว่าเครื่องตัดไฟรั่วทำงานเป็นปกติตามที่ได้ออกแบบ ไว้ เนื่องจาก เครื่องตัดไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นเดียวกันย่อมต้องมีการขัดข้องชำรุด เกิดขึ้นได้เช่นกัน จึงต้องมีการตรวจสอบ และทดสอบตามระยะเวลา หรือตามข้อกำหนดที่ผู้ผลิตระบุ เครื่องตัดไฟรั่วจึงเป็นเพียงอุปกรณ์เสริม เท่านั้น ในการติดตั้ง ใช้งาน จึงต้องติดตั้งระบบสายดินให้กับตัวมันด้วย ไฟฟ้าแรงสูง เมื่อเข้าใกล้ก็อาจเกิดอันตรายได้ โดยที่ยังไม่ต้องสัมผัส ผู้ที่ต้องทำงาน กับไฟฟ้าแรงสูง

การทำงานต้องห่างจากสายไฟฟ้าเท่าไรจึงปลอดภัย
การปฎิบัติงานใกล้สายไฟฟ้า หรือส่วนอื่นๆ ที่มีไฟฟ้าต้องอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมตามที่กำหนดในมาตรฐานเพราะการทำงาน อาจเกิดพลั้งเผลอนำสิ่งของหรือส่วนของร่างกายเข้าใกล้สายไฟฟ้าจนถึงระยะที่ ไม่ปลอดภัย ในการมช้เครื่องมือกลก็อาจเกิดผิดพลาดได้เช่นเดียวกัน การทำงานผู้ปฎิบัติงานหรือผู้ควบคุมงานจึงควรศึกษารายละเอียดการทำงานวิธี การป้องกัน การตรวจสอบและปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว อาจไม่มีโอกาสได้แก้ตัว

 ระยะห่างจากสายไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามลักษณะการทำงานและแรงดันของระบบไฟฟ้า ไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงระยะห่างจะต้องสูงตามไปด้วย
1. นั่งร้านและสิ่งก่อสร้าง การก่อสร้างนั่งร้านเพื่อทำงาน ระยะห่างของนั่งร้านกับสายไฟฟ้า ที่ระดับแรงดันไฟฟ้าต่างๆ ต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดต่อไปนี้

แรงดันไฟฟ้า

(กิโลโวลต์)

ระยะห่าง

(เมตร)

 แรงต่ำ  

2.40

12

2.40

24

3.00

69

3.30

115

3.90

230

5.30

ในทางปฎิบัติ สายไฟฟ้าสำหรับระบบแรงดัน 12 กิโลโวลต์ และ24 กิโลโวลต์ มีโครงสร้างของการก่อสร้างเหมือนกันจึงเป็นการยากที่จะแยกแยะว่าเป็นระบบ แรงดันเท่าไรแน่ เพื่อความปลอดภัยจึงอาจใช้ตัวเลขของระบบแรงดัน 24กิโลโวลต์ เลยก็ได้ แต่ถ้าเราทราบระบบแรงดันที่แน่นอน ซึ่งอาจติดต่อสอบถามได้จากการไฟฟ้า ก็จะสามารถลดระยะห่างลงได้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีพื้นที่แคบ

2. ปั่นจั่นชนิดติดตั้งกับตัวรถ ระยะห่างจากสายไฟฟ้าที่ระดับแรงดันต่างๆต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนด คือ

แรงดันไฟฟ้า

(กิโลโวลต์)

ระยะห่าง

(เมตร)

แรงต่ำ

3.00

12 และ 24

3.00

69 

3.20

115

3.65

230

4.80

3. ปั่นจั่นชนิดติดตั้งบนพื้น ระยะห่างจากสายไฟฟ้าที่ระดับแรงดันต่างๆ ต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนดต่อไปนี้ โดยมีข้อกำหนดเพิ่มเติมว่าปั่นจั่นจะต้องไม่มีการขนส่งวัสดุขณะที่ทำการ เคลื่อนที่เพื่อย้ายตำแหน่งการติดตั้ง ระยะของปั่นจั่นชนิดติดตั้งบนพื้นมีดังนี้

แรงดันไฟฟ้า(กิโลโวลต์)

 ระยะห่าง(เมตร)

แรงต่ำ 

1.25

12 และ 24

1.25

69

3.00

115

3.00

230

3.00


4. ระยะห่างจากอาคาร ระยะห่างนี้จะใช้สำหรับเป็นระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้ากับอาคารที่ก่อสร้าง เสร็จแล้ว  การทำงานใกล้สายไฟฟ้าถึงแม้จะอยู่ในระยะห่างตามที่กำหนด ในมาตรฐานแล้วก็ตาม ก็อาจจะเกิดอันตรายได้จากการพลั้งเผลอ หรือเหตุสุดวิสัยในสถานที่หรือสภาพการทำงานที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้ควร ป้องกันไว้ก่อนด้วย ระยะห่างสายไฟฟ้ากับอาคารที่สร้างเสร็จแล้วมีดังนี้

แรงดันไฟฟ้า

(กิโลโวลต์)

ระยะห่างจากอาคาร

(เมตร)

ระยะห่างจากป้ายโฆษณา

(เมตร)

12 และ 24

1.80

1.80

69

2.13

1.80

115

2.30

2.30


การหุ้มสายไฟฟ้าชั่วคราวซึ่งสามารถทำได้โดยการติดต่อการไฟฟ้าฯ ให้ช่วยดำเนินการให้  กรณีที่ไม่สามารถรักษาระยะห่างให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ อาจมีความจำเป็นต้องดับไฟฟ้าย้ายเสาสายไฟฟ้าลักษณะนี้ต้องติดต่อการไฟฟ้าฯ เป็นแต่ละกรณีไปซึ่งการไฟฟ้าฯ จะพิจารณาดำเนินการให้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม

การสังเกตค่าระดับแรงดันไฟฟ้า
 ในระะบบไฟฟ้าที่เป็น ระบบสายอากาศโครงสร้างสำหรับไฟฟ้าที่ระดับแรงดันต่างๆ จะแตกต่างกันออกไปสามารถสังเกตได้ไม่ยาก มีเพียงระดับแรงดัน 12 กิโลโวลต์ กับ 24 กิโลโวลต์ เท่านั้นที่แยกข้อแตกต่างได้ยากในทางปฎิบัติ สำหรับระยะห่างที่ไม่เท่ากันจะใช้ค่าที่ระดับแรงดัน 24 กิโลโวลต์ หลักการสังเกตจะดูจากลูกถ้วยฉนวนที่ใช้รองรับสายไฟฟ้า เช่น ลูกถ้วยสำหรับแรงดัน 12 และ 24 กิโลโวลต์ จะเป็นลูกถ้วยชนิดก้านตรง คือจะเป็นลูกถ้วยมีก้านเหล็กตั้งอยู่บนคอนสายไฟฟ้าหรือไม้กางเขน หรือเป็นการเดินสายแขวนบนสายสะพาน (Messenger) สำหรับระบบแรงดัน 69 กิโลโวลต์ จะเป็นลูกถ้วยแบบแขวนเป็นพวงจำนวนลูกถ้วยพวงละ 4 ลูก แรงดัน 115 กิโลโวลต์จะมีลูกถ้วย พวงละ 7 ลูก สำหรับแรงดัน 230 กิโลโวลต์จะมีโครงสร้างที่แตกต่างออกไปเช่นเป็นเสาโครงเหล็กหรือเสาเหล็ก ขนาดใหญ่

ระดับความสูงของสายไฟฟ้าที่แรงดันต่างๆ
 เมื่อทราบ ระยะห่างที่ปลอดภัยในการก่อสร้างแล้วต้องรักษาระยะห่างไม่ให้ใกล้กว่าที่ กำหนดไว้ในมาตรฐานปัญหาที่อาจพบคือเราจะทราบความสูงของสายไฟฟ้าที่ระดับแรง ดันต่างๆได้อย่งไร ระดับความสูงโดยประมาณของสายไฟฟ้าเหนือพื้นดินหรือพื้นทางเท้ามีมาตรฐาน กำหนดไว้ ความสูงที่กำหนดนี้เป็นความสูงที่จุดติดตั้งเสาไฟฟ้าที่ช่วงกลางระหว่างเสา ความสูงจะลดลงเนื่องจากความหย่อนของสายความสูงตามมาตรฐาน(ความสูงนี้อาจ เปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากมีการปรับปรุงผิวจราจร) ความสูงของสายไฟฟ้ามีการติดตั้งหลายระดับ จะวัดถึงสายเส้นต่ำสุด) ระดับความสูงของสายไฟฟ้ากับพื้นดินที่แรงดันต่างๆ ดังนี้

แรงดันไฟฟ้า

(กิโลโวล์ต)

ระยะห่าง

(เมตร)

12 และ 24

10.5

69

(ชนิดคอนสาย2ชั้น)

14.3

69

(ชนิดคอนสาย3ชั้น)

13.1

115

12.00

230

22.6


 สายไฟฟ้าใต้ดิน
      ปัจจุบันการไฟฟ้ามีการก่อสร้างสายไฟฟ้าใต้ดินเป็นจำนวนมาก การก่อสร้างมีทั้งระบบไฟฟ้าแรงต่ำและไฟฟ้าแรงสูง ในการก่อสร้างมักประสบอุบัติเหตุจากการขุดเจาะ หรือตอกเสาเข็ม ถูกสายไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อบุคคลและทรัพย์สินเสียหาย เนื่องจากในการก่อสร้างไม่สามารถเห็นสายไฟฟ้าก่อนได้ในการปฎิบัติงานจึง ต้องใช้การสังเกตและสอบถามข้อมูลจากการไฟฟ้าเป็นหลัก 
      การสังเกตเบื้องต้นที่พอจะสัณนิษฐานได้ว่า อาจมีสายใต้ดินอยู่ในแนวที่จะทำการขุดเจาะคือมีสายไฟฟ้าโผล่ขึ้นมาจากใต้ดิน หรือมีแนวบ่อพักสายใต้ดินอยู่ซึ่งจะสังเกตได้จากที่มีผาบ่อเป็นเหล็กหล่อ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเกือบ 1 เมตร อยู่บนผิวจราจรหรือทางเท้าและจะมีตัวอักษรเป็นภาษาอังกฤษว่า M.E.A. พิมพ์อยู่บนฝาเหล็ก

 

Via : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=332961

Credit : คัดมาจาก : อิเล็กทรอนิกส์แฮนด์บุ๊ค ฉบับที่ 95 กรกฎาคม

            http://www.thai-interelectric.com

            http://www.stunitedsupply.com

 

QR Line@