มาตรฐานเกี่ยวกันงานไฟฟ้า

 

มาตรฐานทั่วโลกมาตรฐานเกี่ยวกันงานไฟฟ้า

ปกติมาตรฐานในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า นั้นมีอยู่หลากหลายมาตรฐาน แต่พอจะแบ่งออกได้เป็น 2 อย่างคือ

1) มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า

2) มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า

-----------------------------------------------

ซึ่งแต่ละมาตรฐานยังแบ่งออกได้อีก 3 อย่าง คือ

- มาตรฐานสากล
- มาตรฐานประจำชาติ
- มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน

-----------------------------------------------

มาตรฐานสากล เช่น ISO, IEC , EN

1) มาตรฐานสากล เช่น ISO, IEC , EN

- ISO (International Organization for Standardization) : เป็นมาตรฐานทั่วไปทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) เช่น ISO9000, 9001, 9002 (เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สินค้า), ISO14000 (เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม)

- IEC (International Electrotechnical Commission) : เป็นองค์กรระหว่างประเท ศที่ร่างมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ โดยขณะนี้ IEC มีประเทศสมาชิกเกือบทุกประเทศในโลกแล้ว ซึ่งรวมถึงไทยด้วย

- EN (European Standard) : ในหลายประเทศในทวีปยุโรปได้รวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานทางไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า CENELEC (European Committee for Electrotechnical Standardization) โดย CENELEC ได้จัดทำมาตรฐานทางไฟฟ้าของยุโรป คือ EN (European Standard) ซึ่งมาตรฐาน EN นี้เป็นมาตรฐานบังคับ กล่าวคือ ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้ตามมาตรฐานนี้ จะนำเข้ามาขายในกลุ่มประเทศสมาชิกไม่ได้

        ข้อดีของการมีมาตรฐานร่วมกันคือ จะทำให้การออกแบบ การผลิต การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในทางการค้า และขจัดการกีดกันทางการค้าที่มาในรูปแบบของข้อกำหนดมาตรฐานต่างๆ และนอกจากนี้ยังต้องการให้ทุกประเทศในกลุ่มมีมาตรฐานเดียวกัน
( สำหรับประเทศไทย หน่วยงาน สมอ (TISI ) เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเภท Full member กับ IEC เมื่อปี พ.ศ 2534 )

-----------------------------------------------

มาตรฐานประจำชาติ

2) มาตรฐานประจำชาติ

    - ประเทศอุตสหกรรมที่สำคัญในโลก ต่างมีมาตรฐานของตนเองมานานแล้ว โดยมาตรฐานประจำชาติของแต่ละประเทศต่างร่างขึ้นใช้ภายในประเทศของตนเอง เพื่อให้ตรงวิธีปฎิบัติของตนเอง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นๆ ด้วยมาตรฐานประจำชาติที่สำคัญ ได้แก่

- ANSI (American National Standard Institute) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- NEC (National Electrical Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา
- BS (British Standard) ของประเทศอักกฤษ
- DIN (German Industrial Standard) ของประเทศเยอรมันนี
- VDE (Verband Deutscher Elektrotechniker) ของประเทศเยอรมันนี
- JIS (Japan Industrial Standard) ของประเทศญี่ปุ่น
- TIS หรือ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม) ของประเทศไทย
- EIT หรือ วสท. (มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า) ของประเทศไทย

-----------------------------------------------

มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน

3) มาตรฐานของแต่ละหน่วยงาน

    - ซึ่งก็เป็นการนำเอามาตรฐานสากลหรือมาตรฐานประจำชาติต่างๆ เอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานนั้นๆ

-----------------------------------------------

*** ในขณะนี้มาตรฐานประจำชาติ ของชาติอุตสหรรมใหญ่ๆ ได้ลดความสำคัญลงมากตามโลกาภิวัฒน์ และเนื่องจากมาตรฐานประจำชาติถือเป็นกำแพงการค้าอย่างหนึ่ง หลายๆ ประเทศจึงได้พยายามปรับปรุงมาตรฐานประจำชาติของตนเองใหม่ให้ตรงตามมาตรฐานสากล และหลายประเทศได้ยกเลิกมาตรฐานของตนเองโดยนำมาตรฐานสากลทั้งฉบับมาใช้เป้นมาตรฐานประจำชาติของตน

*** สำหรับประทเศไทยในอดีตการทำมาตรฐานทางไฟฟ่าวนมากจะแปลเรียบเรียงมาจากมาตรฐาน IEC การแปลนั้นต้องใช้เวลามากและความหมายอาจจะไม่ตรงกับความหมายเดิม แต่ในขณะนี้มาตรฐานสำหรับอุปกรร์ไฟฟ้านั้นไม่มีการแปลและเรีบเรียงอีกต่อไป แต่จะนำมาตรฐาน IEC ทั้งฉบับซึ่งเขียนเป็นภาษาอักกฤษมาเป็นมาตรฐานไทยเลยตามแนวปฎิบัติซึ่งหลายๆประเทศในโลกกำลังทำอยู่

-----------------------------------------------

*** เมื่อรู้จักมาตรฐานกันแล้วมาดูต่อไปว่า...มาตรฐานตัวไหน พูดถึง มาตรฐานอุปกรณ์ และมาตรฐานตัวไหนพูดถึงการติดตั้งบ้าง

-----------------------------------------------

1) มาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้า

    - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้ามีอยู่มากมายหลายชนิดส่วนมากจะมีมาตรฐานควบคุมคุณภาพอยู่แล้วโดยมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมาก คือ IEC จะสังเกตได้จากแคตตาลอกของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะอ้างอิงถึงมาตรฐานนี้อยู่เสมอ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ จะอ้างอิงมาตรฐาน IEC- 60947-2 “Low Voltage Switchgear and Control Gear Part 2” เป็นต้น

    - ดังนั้นในการออกแบบระบบรวมถึงข้อกำหนดของอุปกรณ์ไฟฟั้นั้น ในประเทศไทย รายละเอียดที่กำหนดในแบบโดยมากจะอ้างอิงมาจาก มอก. และมาตรฐาน IEC เป็นหลัก หรือบ้างครั้งก็ใช้มาตรฐานอื่นประกอบหากอปุกรณ์ดังกล่าวไม่มีอยู่ในมาตรฐานไทยหรือมาตรฐาน IEC

-----------------------------------------------

2) มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า


       2.1) มาตรฐานต่างประเทศในการการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า

       - มาตรฐานต่างประเทศที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทย คือ NEC (National Electrical Code) ซึ่งเป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าของประเทศสหรัฐอเมริกา มีครั้งแรกตั้งแต่ปี 1897 และมีการแก้ไขปรับปรุงทุกๆ 3 ปี จึงนับได้ว่าเป็นมาตรฐานการออกแบบและติดตั้งที่สมบูรณ์มาก มาตรฐาน NEC ได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างมากในช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีฐานทัพในประเทศไทย วิศวกรไฟฟ้าของไทยส่วนมากจึงนิยมใช้ NEC เป็นพื้นฐานในการออกแบบ และติดตั้งระบบไฟฟ้า

      - โดยมาตรฐาน NEC นั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน NFPA (National Fire Protection Association) ในหมวดมาตรฐาน NFPA70 โดย NFPA ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1896 เป็นองค์กรชั้นนำของโลกที่สนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัยสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่ประกอบกิจกรรมโดยไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) มีสมาชิกรายบุคคลทั่วโลกกว่า 75,000 ราย และมีองค์กรทางวิชาชีพและทางการค้าระดับนานาชาติเป็นสมาชิกกว่า 80 องค์กร ภารกิจหลักของ NFPA คือ จัดทำและสนับสนุนการกำหนดมาตรฐาน ที่พัฒนามาจากสถิติและข้อมูลความเสียหายจริงของชีวิตและทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ ด้วยวิธีประชามติ การวิจัย การฝึกอบรม และการให้ความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะลดปัญหาและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรโลก นอกจากนี้ NFPA ยังเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่สำคัญด้านความปลอดภัยของสาธารณชน มาตรฐานความปลอดภัยของ NFPA กว่า 300 ประเภท ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ และนำมาใช้ในกระบวนการก่อสร้างและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัย โดยครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบ จนถึงการดับเพลิงเมื่อเกิดอัคคีภัย

    - แม้ว่า NEC หรือ NFPA70 จะเป็นมาตรฐานที่ดีมาก ทำจากประสบการณ์ซึ่งมีอยู่มากมายในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มีข้อกำหนดที่วิศวกรไฟฟ้าไทยต้องอ่านและทำความเข้าใจอย่างระมัดระวัง เพื่อให้การประยุกต์ใช้เป็นไปอย่างถูกต้อง เนื่องจากระบบต่างๆ ที่ใช้ในประเทศอเมริกาตาม NEC นั้น มีจ้อแตกต่างจากระบบภายในประเทศไทยหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความถี่-อเมริกาใช้ 60Hz แต่ไทยใช้ 50Hz, ระบบแรงดันไฟฟ้า-อเมริกาใช้120/208V, 277/480V แต่ไทยใช้ 230/400V, ขนาดสายไฟ-อเมริกาใช้หน่วยเป็น AWG แต่ไทยใช้เป็น ตารางมิลลิเมตร, ขนาดและมิติ-อเมริกาใช้เป็น นิ้ว, ฟุต แต่ไทยใช้เป็น เมตร, น้ำหนัก-อเมริกาใช้หน่วยเป็น ปอนด์ แต่ไทยใช้เป็น กิโลกรัม เป็นต้น

    - IEEE คือ สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ ชื่อเต็มคือ Institute of Electrical and Electronic Engineers ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1963 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการรวมตัวของวิศวกรไฟฟ้าและวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งดำเนินกิจกรรมร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้ากำลัง และระบบแสง สถาบัน IEEE เป็นสถาบันที่กำกับ ดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆตลอดจนเผยแพร่ความรู้ โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ระบบวัดคุม โดยนักวิจัยเหล่านี้มีอยู่ทั่วโลก และจะแบ่งกลุ่มศึกษาตามความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล กลุ่มหมายเลข IEEE ที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรควบคุมมาตรฐาน

-----------------------------------------------

    2.2) มาตรฐานสากลในการการออกแบบและติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า

    - เนื่องจากหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปมีมาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเป้นของตนเอง ซึ่งจะมีความแตกต่างในรายละเอียดต่างๆเป็นอย่างมาก ดังนั้น IEC จึงได้ทำมาตรฐานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบ อุปกรณ์ไฟฟ้า ขึ้นในปี 1972 คือ IEC-60364 “ Electrical Installation of Buildings ” ซึ่งมีอยู่หลายฉบับ

    - ในมาตรฐานนี้ IEC 60364 นี้ คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคผู้ร่างได้ใช้มาตรฐานการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าของหลายประทศเป็นตัวอย่างรวมทั้ง NEC ด้วยเพื่อให้มาตรฐานที่ได้เป็นสากล และสามารถปฎิบัติได้

    - มาตรฐาน IEC-60364 นี้ได้แก้ไข และปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เพื่อมห้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในขณะนี้ประเทศในทวีปยุโรปหลายประเทศ ได้นำมาตรฐานนี้มาใช้กันแล้ว โดยเฉพาะประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้เลิกใช้มาตรฐานของตนเอง ซึ่งมีมานับร้อยปี โดยหันมาใช้ IEC-60364 แทนตั้งแต่ปี 1983 คือ Regulation for Electrical Installation ของ The Institute of Electrical Engineer (IEE)

-----------------------------------------------

    2.3) มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

    - การติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้น ในอดีตการไฟฟ้า นครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ต่างมรมาตรฐานของตนเอง ข้อกำหนดส่วนมากจะเหมือนกัน แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างกันทำให้ผู้ออกแบบระบบไฟฟ้าและผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดสับสน ด้วยเหตุนี้สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) หรือ The Engineering Institute of Thailand (EIT) ด้วยความร่วมมือจากการไฟฟ้าทั้งสองแห่งดังกล่าวได้จัดทำ “ มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ” ขึ้นเพื่อให้มั่งประเทศมีมาตรฐานเรื่องการติดตั้งไฟฟ้าฉบับเดียวกัน

    - มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับใหม่นี้ เนื้อหาส่วนมากจะแปลและเรียบเรียงมาจาก NEC และก็มีความพยายามที่จะนำมาตรฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า

    - มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ถือเป็นฉบับล่าสุดในขณะนี้ โดยเนื้อหาส่วนมากแปลและเรียบเรียงจาก NEC และก็มีความพยายามที่จะนำมาตรฐานของ IEC มาใช้ด้วย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า สีของสายไฟ และการคำนวณหาพิกัดกระแสของสายไฟฟ้า เป็นต้น

-----------------------------------------------

เครดิต...ผู้ถ่ายทอดความรู้โดย... อาจารย์ ผศ. ประสิทธิ์ พิทยพัฒน์ (จากหนังสือการออกแบบระบบไฟฟ้า)

 

 

LINE@